ร้าน tintin เจ้ากรมพระสวย รังพระแชมป์
www.tintin.99wat.com
0812633450. หรือ ID Line. cys_porn
cys_porn หรือ บันทึกเบอร์ 0812633450 ก็ขึ้นไลน์ครับ

  ผมเป็นเพียงนักสะสมธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่มีใจรักในศิลปะและศรัทธาในพุทธคุณของพระเครื่อง ได้มีโอกาสเก็บรวบรวมพระแท้พระสวยเท่าที่จะอดออมทุนทรัพย์มารวบรวมไว้ชื่นชม และหาโอกาสเอามาโชว์เอามาเผยแพร่แบ่งปันความรู้ได้เท่าที่พอจะมี หรือพอจะขนขวายหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาประกอบ ในช่วงแรกเริ่มสะสม ก็เจอดี ได้บทเรียนมาหลายต่อหลายครั้ง นึกอยากจะเลิกก็หลายต่อหลายหน (ซึ่งผมเชื่อว่าทุกๆท่านก็ต้องเจอแบบผม) แต่ในอีกบางมุม ก็ได้พบเพื่อนดีเพื่อนแท้ก็หลายคน มิตรภาพดีๆที่ได้รับและแบ่งปันก็เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจให้ยังคงอดทนต่อไป ต้องขอบคุณทีมงานเว็บไซด์เป็นอย่างสูงที่ให้เกียรติทาบทามให้มาร่วมเปิดร้าน (โชว์ซะส่วนใหญ่ อิอิ) ทั้งๆที่ไม่เคยเปิดและมีร้านเป็นของตัวเองเลย เพราะส่วนใหญ่ยังเน้นสะสมเป็นหลัก ดังนั้น ผมเชื่อว่าผมเข้าใจหัวอกและความรู้สึกเป็นอย่างดีสำหรับนักสะสมที่ต้องการพระแท้ พระสวย แต่ยังกลัวๆกล้าๆ ที่จะเข้ามาสู่วงการสะสมพระเครื่อง ไม่ต้องกลัวครับลองมารู้จักผม ( tintin ) และเพื่อนๆ กันดู บางทีคุณอาจจะสุขและสมหวังเพิ่มมากขึ้นครับ มิตรภาพและจริงใจต่อกันครับ tintin      โทร.  081-2633450

ID Line.  cys_porn

    อีก 1 ช่องทางการติดตามผม  ท่านที่เล่น Facebook สามารถค้นหาเพจ เจ้ากรมพระสวยรังพระแชมป์ Tintin ได้  จะมีการ Update พระและข้อมูลเป็นปัจจุบัน และยังสามารถติดต่อผมได้รวดเร็วด้วย 

 
กริ่งสิทธัตโถ เนื้อนวะ รุ่นแรก ปี 08 เนื้อเหลืองพิมพ์แต่ง เลี่ยมทองลงยา


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
tintin เจ้ากรมพระสวย รังพระแชมป์
โดย
tintin
ประเภทพระเครื่อง
วัดบรมนิวาสฯ
ชื่อพระ
กริ่งสิทธัตโถ เนื้อนวะ รุ่นแรก ปี 08 เนื้อเหลืองพิมพ์แต่ง เลี่ยมทองลงยา
รายละเอียด
พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาส รุ่นแรก ปี๒๕๐๘"

#รายละเอียด :

หนึ่งในสุดยอดพระกริ่งพิธีใหญ่ ของพระสายกรรมฐานยุคแรก

พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร มีการจัดสร้าง ๕ ครั้งคือ ๒๕o๘, ๒๕๑๐, ๒๕๑๒, ๒๕๑๖ และปี ๒๕๑๗ องค์นี้คือรุ่นแรก ๒๕๐๘ สภาพสวยเดิม ๆหายากสุด ๆ ...สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๘ โดย “พระธรรมวราลังการ วัดเพชรวราราม” จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อครั้งเป็น “พระมหาชลอ กิตติสาโร” และจำพรรษาอยู่ที่ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านเป็นชาวบ้านหนองหลวง จังหวัดลพบุรี จึงมีเจตนารมย์ในการจัดสร้างพระกริ่งเพื่อหาทุนไปพัฒนา วัดหนองหลวง

โดยริเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เตรียมการสร้าง “พระกริ่งสิทธัตโถ” โดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ช่วยเหลือในด้านพิธีกรรมต่าง ๆแต่ไม่อาจสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจึงได้แต่เตรียมการไว้ตลอดกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงสำเร็จโดยได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระอริย​วงศา​คต​ญาณ​ สมเด็จ​พระสังฆราช​ (อยู่​ ญาโณทโย) วัดสระเกศ ขอประทานชื่อพระกริ่ง และฤกษ์เททองพร้อมกันด้วยซึ่ง ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ (อยู่​ ญาโณทโย)​ วัดสระเกศฯ ประทานชื่อพระกริ่งที่สร้างว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ประทาน ความสำเร็จ”

***การประกอบพิธีครั้งนั้นนับว่าเป็นพิธีมโหฬารทีเดียวเพราะมีการประกอบพิธีทั้งทาง “พุทธศาสตร์, พราหมณ์ศาสตร์, โหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ ครบถ้วนถูกต้องตำราการสร้างพระกริ่งทุกประการ นอกจากนี้ยังได้อาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคม และทางวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง นั่งปรกปลุกเสก บริกรรมภาวนาถึง ๔๒ รูป นอกจากนี้ยังมีพระคณา จารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทำการลง พระยันต์ ๑๐๘ และ นะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นนวโลหะตามพิธี การสร้างพระกริ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” นี้มีคุณานุภาพยิ่งขึ้นจึงได้นำแผ่นโลหะอีกส่วนหนึ่งถวายเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ที่ล้วนแต่เป็นพระราชาคณะทั้งสิ้นรวม ๑๐๘ รูป ทรงลงอักขระเลขยันต์นอกจากนั้นพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษ ในทางวิทยาคมอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐมเป็นต้นพร้อมได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นโลหะให้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งด้วยและอีกประการหนึ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” มีคุณานุภาพเป็นพิเศษยิ่งขึ้นจึงได้เลือกประกอบพิธี พร้อมส่วนประกอบอื่น ๆที่เป็นสัญลักษณ์ในทางต่าง ๆอีกดังนี้
----------------------------------------------

๑. นอกจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคมและทางวิปัสสนา ซึ่งมีจำนวนถึง ๔๒ รูป ดังกล่าวแล้วยังได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้มีชื่อเป็นมงคลนามนั่งปรกปลุกเสกอีกดังนี้คือ หลวงพ่อมี, หลวงพ่อแก้ว, หลวงพ่อแหวน, หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อทอง, หลวงพ่อนาค ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นผู้มีโชคลาภแก้วแหวนเงินทองสำหรับผู้ที่มี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ไว้สักการะ
-----------------------------------------------
๒. องค์ประธานในการเททองก็ดี พระสงฆ์ผู้เจริญชัยมงคลคาถาในเวลาเททองก็ดีล้วนแต่เป็น สมเด็จพระราชาคณะ ๙ รูปและ พระราชาคณะที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยค ทั้งสิ้น ๙ รูปและวันที่สร้างพระกริ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ แล้วเริ่มสั่งจองในวันอาทิตย์ที่ ๙ พ.ค. ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำเช่นกัน องค์พระกริ่งประทับนั่งบนบัลลังก์เหนือบัวคว่ำบัวหงาย ๙ กลีบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน ทางก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ที่เป็น ไปโดยชอบธรรม
-----------------------------------------------
๓. ผู้ที่ลงอักขระเลขยันต์อีกส่วนหนึ่งที่นอก เหนือจากพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษก็คือ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ก็ล้วนแต่เป็น พระราชาคณะ ซึ่งเจริญด้วยยศศักดิ์ทั้งสิ้น รวม ๑๐๘ รูป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์ พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สฤงคารและบริวารชนเป็นต้น
********

● “พระกริ่งสิทธัตโถ” ทำการประกอบพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(บางเขน) เป็นประธาน

- พระราชครูวามเทพมุนี (สมจิตต์ รังสิพราหมณกุล) พราหมณ์หลวง ซึ่งดำรงตำแหน่งพราหมณ์ราชสำนักโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ทรง​เป็นผู้แต่งตั้ง เนื่องจากพราหมณ์ราชสำนักเป็นข้าราชการในสังกัดกองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง​ มาเป็นเจ้าพิธีฝ่ายพราหมณ์​ ในพิธีพุทธาภิเษก​พระกริ่งสิทธัตโถ​ รุ่นแรก​ ปี๒๕๐๘​

● คณะกรรมการจัดสร้าง ซึ้งมี พล.อ.อ. เทพ เกษมุติ เป็นประธาน

● งานสมโภชพระกริ่งสิทธัตโถ และพระบูชา ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส จ.พระนคร เมื่อวันที่ ๖ - ๗ - ๘ - ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ โดยอาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมานั่งปรกปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส ๔๒ รูปคือ

● รายนามพระเถระคณาจารย์ นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิต พิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคล ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส

-หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
-หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส
-หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ
-หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน
-หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
-หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
-หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
-หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
-หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น
-หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร
-หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
-หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์
-หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทอง
-หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
-หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
-หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร
-หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์
-หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
-หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
-หลวงพ่อผล วัดหนัง ธนบุรี

● สายพระกรรมฐานอาทิ ●

-หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง
-หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
-หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน
-หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง
-หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม
-หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง
-หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี
-หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี
-หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง
-หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล
-หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม
-พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม
-พระอาจารย์จวน วัดภูทอก
-พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์

● ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้วได้นำไปให้พระคณาจารย์ที่เป็น “พระอริยสงฆ์” ทำการอธิษฐานจิตเดี่ยวอีก ๒ รูป คือ
• หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
• เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต ธมฺมวิตกฺโก วัดเทพศิรินทร์ "พระอรหันต์กลางกรุง"

● และยังได้นำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระบูชา และพระกริ่งปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ๒๕๐๘ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล พระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์) และงานสมโภช พระเจดีย์ทอง ที่มีการสร้างเหรียญ ทรงผนวช ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ พระนคร โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ​พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ รัชกาล​ที่​๙​ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ​ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีฯ

“พระกริ่งสิทธัตโถ” จึงนับเป็นพระกริ่งที่สร้างสมบูรณ์แบบด้วยพิธีกรรม และการปลุกเสก นับเป็นพระกริ่งในช่วง ปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ที่น่าสักการบูชาอีกรุ่น เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายนานาประการได้ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

พระกริ่งสิทธัตโถ ปี๒๕๐๘ ที่จัดสร้างนั้นมีพระกริ่งรวม ๓ เนื้อ ดังนี้ :

๑. เนื้อนวะโลหะ ให้ทำบุญองค์ละ ๓๐๐ บาท

๒. เนื้อปัญจโลหะ ให้ทำบุญองค์ละ ๑๐๐ บาท

๓. เนื้อสัมฤทธิ์ ให้ทำบุญองค์ละ ๕๐ บาท

พระกริ่งสิทธัตโถ รุ่นแรก นี้มีพบทั้งแบบก้นเรียบ และก้นถ้วย ตอกโค้ดคำว่า “สิทธัตโถ” ลายมือสมเด็จพระอริย​วงศา​คต​ญาณ​ สมเด็จ​พระสังฆราช​ (อยู่​ ญาโณทโย)​ วัดสระเกศ ที่ฐานด้านหลังรวมทั้ง
- โค๊ด สามจุด
- โค๊ด หกจุด
- โค๊ดใบพัด ๆนั้นมี ๒ ลักษณะ คือ
: โค๊ตลักษณะคล้าย "ตรารถมิตซูมิซ"
: และโค๊ตลักษณะคล้าย "ตรารถเบนซ์"
- โค๊ตรูป ดาว

(( พระกริ่งสิท​ธ​ั​ต​โถ​ แบบไม่ตอกโค้ด​ ก็มีนะครับ​ ))​

_________________________________________

สกุลช่างแต่งมี ๓ ลักษณะ :
๑. ท่านพระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโน)
๒. ช่างแต่งสายพระอาจารย์เชื้อหนูเพชร
๓. ช่างหนุ่ม มาจากสายวัดสุทัศน์
สมัยนั้น (ค่าแต่งพระกริ่ง องค์ละ ๓๐.- )

ซึ่งฝีมือของช่างชั้นครูแต่ละท่านจะมีพุทธลักษณะที่แตกต่างกันไปตามแต่ฝีมือเป็นเอกลักษณ์

● ด้านกระแสของโลหะเนื้อนวะโลหะ จะออกวรรณะเหลืองแล้วกลับเป็นสีดำเอง และแบบนวะโลหะเต็มสูตร

และนอกจากจะสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ ท่านก็ได้สร้างเหรียญ หลวงพ่อกวน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ของวัดหนองหลวง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มี ๒ เนื้อคือ เนื้ออัลบาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างอย่าง ๕๐๐ เหรียญเท่านั้น .........

___________________________________________

ประสบการณ์ :

เหตุการณ์​ของในปีพ.ศ. ๒๕๔๑ *ท่านพระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) เล่าให้ถึงเหตุการณ์​ในวันที่เกิดเพลิงไหม้ ศาลาอุรุพงศ์​ ซึ่งเป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างมาเก่าแก่นานกว่า ๘๐ ปี พระเพลิงได้เผาผลาญอย่างรวดเร็วเพราะเป็นไม้เก่าประกอบกับทางเข้า วัดบรมนิวาส เป็นทางคับแคบที่รถดับเพลิงเข้าถึงได้ยากกว่าจะทำการดับเพลิงได้ ศาลาอุรุพงศ์​ ก็แทบกลายเป็นจุณแล้วทั้งหลังมีเหลือเพียงตู้ไม้เก่า ๆตู้หนึ่งที่ พระเพลิงไม่ได้เผาผลาญ ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลาง กองเถ้าถ่าน ที่เหลือเพียงควันไฟคละคลุ้งทั่วบริเวณ พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน ที่มุงดู เหตุการณ์จึงตรงเข้าไปสำรวจดูตู้ไม้ตู้นั้นก็พบว่าภายในมี พระกริ่งสิทธัตโถ ตั้งเรียงอยู่บนชั้นไม้ในตู้ที่สภาพยังคงเดิมทั้งที่เป็นไม้เก่า ๆแม้แต่กระจกตู้ก็ไม่แตกสลายหรือมีคราบเขม่าไฟแต่ประการใดและที่น่า อัศจรรย์อย่างที่สุด ก็คือมี มดจำนวนมาก เข้าไปอาศัยอยู่ในตู้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน นับล้านตัว และอีกส่วนหนึ่งเกาะล้อมรอบ พระกริ่งสิทธัตโถ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในตู้หลายสิบองค์จนแทบมองไม่เห็นองค์ พระกริ่ง เลยประการสำคัญ มดจำนวนนับล้านตัวเหล่านี้ยัง มีชีวิต เหมือนกับไม่ได้ถูก ความร้อน จากพระเพลิงที่ฮือโหม ศาลาอุรุพงศ์​ แต่ประการใดสร้างความ อัศจรรย์ใจ ให้กับ พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านที่เข้าไปสำรวจตู้ไม้นั้นเป็นอย่างยิ่ง...

ปล. ในบรรดาพระกริ่งสิทธัตโถ ปี๐๘ นั้นองค์ที่เป็นพิมพ์แต่ง และ(พระนลาฏทองคำ) มีจำนวนน้อยมาก ๆครับ นับเป็นเอกอุของพระกริ่งสิทธัตโถ รุ่นแรก

● ... พระกริ่งยุคแรกของพระป่าสายกรรมฐาน

● ... พระดีพิธีดังใครที่ยังไม่มีควรรีบหาบูชานะครับ

●●● ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล ●●

● ข้อมูลโดยตรง :

๑. ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อวัดเพชร หรือพระธรรมวราลังการ (ชลอ กิตติสาโร) #องค์ผู้ริเริ่มจัดสร้าง ที่ท่านเจ้าคุณฯได้จดบันทึกไว้ เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็น (พระมหาชลอ กิตติสาโร) และจำพรรษาอยู่ที่วัดบรมนิวาส

๒. คุณลุงพลอย ท้วมเอี่ยม อดีตพระครูสังฆรักษ์พลอย ภายหลังท่านได้รับฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก (ทองดำ จนฺทูปโม) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส โดยเลื่อนเป็น #พระครูธรรมธรพลอย ...ได้กล่าวไว้ตลอดทุกรายละเอียดทุกขั้นตอนในการเตรียมงานต่างจนจบสิ้นภาระกิจที่ท่านได้ดำเนินการครับ ทุกครั้งที่ท่านเล่าให้ผู้เขียน(ผมนายตุ๊​ ศิษย์​มี​ครู)​ ฟังท่านจะยิ้ม แล้วนึกถึงวันเวลาดังกล่าวอย่างมีความสุขใจที่ได้รังสรรค์สิ่งดี ๆสู่ปัจจุบันครับ ● ...

๓. *ท่านพระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) ผ​จล.วัดบรมนิวาส เป็นผู้ให้ความเมตตาให้ผู้เขียน(นายตุ๊​ ศิษย์​มี​ครู)​ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดออกมาเรียบเรียงแล้วจึงนำออกเผยแพร่เพื่อให้มีความชัดเจนแก่ผู้ที่กำลังศึกษา และสะสม​ ●


หมายเหตุ​ : * ท่านพระครู​ปลัด​วิน​ั​ยวัฒน์​ (กิตติ​ ธ​ี​รวี​โร)​ผู้ช่วย​เจ้าอาวาส​วัด​บรม​นิวาส​ ปัจจุบัน​ท่านได้รับพระราชทาน​สมณศักดิ์​สัญญา​บัตร​เป็น​ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส​วัด​พระอาราม​หลวง​ ที่​ #พระครูกิตติวินัยวัฒน์​ เมื่อวันที่​ ๑๙/๑๑/๒๕๖๒

●●●● ข้อมูลนี่หากเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีความศรัทธา และสนใจในด้านวัตถุมงคลของสายวัดบรมนิวาส นี้แล้วนั้น กระผมนาย
ราคา
-
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
-
ID LINE
cys_porn หรือ บันทึกเบอร์ 0812633450 ก็ขึ้นไลน์ครับ
จำนวนการเข้าชม
963 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่งข้อมูล